1. นำข้อมูลที่ต้องการมาใช้ในการเรียนรู้
2. สามารถแลกเปลี่ยนข้อความรู้ ด้วยการสนทนา
3. เสริมการเรียนรู้เรื่องต่างๆที่น่าสนใจ
4. การสร้างโปรแกรม
5. เป็นเครื่องมือช่วย ค้นคว้าหารความรู้ ในรูปแบบต่างๆได้ดี
6. การสร้างสัมพันธ์ภาพด้านการเรียนรู้ ทางพุทธิปัญญา การคิดเลข
7. ใช้เป็นเครื่องมือสื่อการฝึกความคิดสร้างสรรค์
8. ช่วยให้มือและตาได้สัมพันธ์กัน
9. เป็นเครื่องมือช่วยสร้างหลักสูตรและกิจกรรม
10.ได้ค้นคว้าคำตอบด้วยความสนุกสนาน
11. การสร้างตาราง การคิดร้อยละ
วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2551
งานวิจัยที่ศึกษา การประเมินการใช้หลักสูตรท้องถิ่นโรงเรียนบ้านควนประชาสรรค์
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดกรอบ แนวคิด และหลักการปฏิบัติตามกรอบแนวคิด แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (กระทรวงศึกษาธิการ. 2544 : 3) ไว้ดังนี้
1. เน้นการพัฒนาคนไทยให้มีศักยภาพสูงขึ้นเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์มั้งร่างกาย จิตใจ สติ ปัญญา ความรู้ คุณธรรม วัฒนธรรมในการดำรงชีวิต และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
2. การจัดการศึกษาของไทยเป็นการศึกษาตลอดชีวิตเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษา และให้มีการพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิต
3. การจัดการศึกษาด้านนโยบายมีความหลากหลายในทางปฏิบัติ มีการกระจายอำนาจ และมีมาตรฐานคุณภาพการศึกษาสูงขึ้น
4. ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาเป็นครู อาจารย์ และบุคลากรมืออาชีพ
5. มีการระดมสรรพกำลังเพื่อการจัดการศึกษา
6. บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสถาบันต่าง ๆ มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษามากขึ้น
7. จัดการศึกษาอย่างหลากหลาย มีการใช้สื่อเทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการศึกษาอย่างเหมาะสม
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 7 ซึ่งระบุว่า “ในกระบวน การเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ ความเคารพกฎหมาย ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย รู้จักรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวมและประเทศชาติ รวมทั้งส่งเสริมศาสนา ศิลปวัฒนธรรมของชาติ การกีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และความรู้อันเป็นสากล ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการประกอบอาชีพ รู้จักพึ่งตนเอง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง” ซึ่งการที่นักเรียนมีความสามารถในการประกอบอาชีพ รู้จักพึ่งตนเอง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง ย่อมเกิดมาจากกระบวนการเรียนรู้ที่โรงเรียนและนำความรู้ไปปฏิบัติจริง
ด้วยตนเอง
มาตรา 27 ให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อความเป็นไทย ความเป็นพลเมืองดีของชาติ การดำรงชีวิต และการประกอบอาชีพ ตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อ ให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่จัดทำสาระของหลักสูตร ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ (กระทรวงศึกษาธิการ. 2546 : 3)
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 มาตรา 35 ระบุไว้ว่า สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเฉพาะที่เป็นโรงเรียนนิติบุคคล และมาตรา 37 ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อทำหน้าที่ในการดำเนินการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการฯ และให้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษาตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายอื่นและมีอำนาจหน้าที่ (กระทรวงศึกษาธิการ. 2546 : 22) ดังนี้
1. อำนาจหน้าที่ในการบริหารและจัดการศึกษาและพัฒนาสาระของหลักสูตรการศึกษาให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. อำนาจหน้าที่ในการพัฒนางานด้านวิชาการ และจัดให้มีระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาร่วมกับสถานศึกษา
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยคณะกรรมการการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 ข้อ 5 ระบุว่าให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการสถานศึกษา” อยู่ภายใต้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ ข้อ 6 ให้คณะกรรมการมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. วางแผนการดำเนินงานวิชาการ กำหนดสาระรายละเอียดของหลักสูตรระดับสถาน ศึกษา และแนวการจัดสัดส่วนสาระการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของสถานศึกษาให้สอด คล้องกับหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สภาพเศรษฐกิจ สังคม ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น
จากบทบัญญัติพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ และระเบียบกระทรวงศึกษาดังกล่าว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา นอกจากต้องจัดการศึกษาให้ผู้เรียนเกิดความรู้คู่คุณธรรมแล้ว ยังต้องจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพของท้องถิ่น เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ชีวิตจริงของตนเองในท้องถิ่น เรียนรู้สภาพภูมิศาสตร์ ประวัติความเป็นมา สภาพเศรษฐกิจ สังคม การดำรงชีวิต ภูมิปัญญา ศิลปะ วัฒนธรรม ตลอดจนให้มีความรักความผูกพัน และมีภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตนเอง รวมทั้งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตในสังคม สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงต้องตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว รวมทั้งจะต้องดำเนินการส่งเสริมสนับสนุนให้ครูผู้สอนสามารถนำสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นไปจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนเกิดผลสัมฤทธิ์ผลตามมาตรฐานการเรียนรู้
ในปีการศึกษา 2550 โรงเรียนบ้านควนประชาสรรค์ได้ปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียน ครั้งที่ 1 ขึ้นและทางโรงเรียนได้จัดทำหลักสูตรท้องถิ่นของโรงเรียนขึ้น ซึ่งรูปแบบการจัดนั้นสอดคล้องกับการจัดหลักสูตรกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามที่หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด โดยเป็นกิจกรรมที่จัดให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถของตนเองตามศักยภาพ มุ่งเน้นเพิ่มเติมจากกิจกรรมที่ได้จัดให้เรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่ม การเข้าร่วมและปฏิบัติกิจกรรมที่เหมาะสมร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุขกับกิจกรรมที่เลือกตนเองตามความถนัดและความสนใจอย่างแท้จริง การพัฒนาที่สำคัญ ได้แก่ การพัฒนาองค์รวมของความเป็นมนุษย์ให้ครบทุกด้าน ทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม โดยอาจจัดเป็นแนวทางหนึ่งที่สนองนโยบายในการสร้างเยาวชนของชาติให้เป็นผู้มีศีลธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัย และมีคุณภาพเพื่อพัฒนาองค์รวมของความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกของการทำประโยชน์เพื่อสังคม ซึ่งสถานศึกษาต้องดำเนินการอย่างมีเป้าหมาย มีรูปแบบและวิธีการที่เหมาะสม กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ 1) กิจกรรมแนะแนว 2) กิจกรรมนักเรียน ซึ่งในกิจกรรมนักเรียนก็สามารถแบ่งออกเป็นกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี ยุวกาชาด บำเพ็ญประโยชน์ และกิจกรรมชุมนุม ชมรม (กระทรวงศึกษาธิการ. 2544 : 6)
โรงเรียนเป็นสถาบันที่ต้องเตรียมคนให้ออกไปสู่ตลาดแรงงานและต้องเตรียมการให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินว่าชอบอาชีพอะไร และได้ทดลองฝึกทำปฏิบัติจริงเพื่อเป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพตามที่ท้องถิ่นต้องการ ปัญหาที่สำคัญในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคือนโยบายการจัดการศึกษาจะเน้นผลสัมฤทธิ์ทางพุทธิพิสัยมากกว่าจิตพิสัยและทักษะพิสัยและครูขาดความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรและวิชาชีพที่อยู่ในท้องถิ่น ซึ่งปัญหาเหล่านี้ทำให้นักเรียนขาดความรู้ความเข้าใจในหลักการของอาชีพ การจัดการศึกษาจึงขาดประสิทธิภาพและก่อให้เกิดปัญหาการว่างงานตามมา โรงเรียนบ้านควนประชาสรรค์ ได้จัดกิจกรรมชมรมตามความถนัดและความสนใจของผู้เรียนออกเป็น 3 ชมรม (การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโรงเรียนบ้านควนประชาสรรค์ : 3) คือ
1. ชมรมวิชาการ แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มย่อยดังนี้ คือ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา และภาษาอังกฤษ
2. ชมรมงานอาชีพ แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มย่อย คือ นักธุรกิจรุ่นเยาว์ งานเกษตร งานช่าง และงานบ้าน
3. ชมรมกีฬาและนันทนาการ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มย่อย คือ ศิลปะ ดนตรี และกีฬา
หลักสูตรท้องถิ่นของโรงเรียนบ้านควนประชาสรรค์ ได้จัดทำขึ้นโดยคณะกรรมการคณะหนึ่งซึงรายละเอียดเนื้อหาสาระของหลักสูตรนั้นแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ 1) พืชสมุนไพร 2) ปลาดุก 3) ข้าวกล้อง โดยใช้เนื้อหาสาระหลักสูตรมาบูรณาการในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
การจัดหลักสูตรการศึกษาในปัจจุบันเปิดโอกาสให้สถานศึกษาสามารถพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและสภาพของท้องถิ่น อันจะทำให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้และประสบการณ์ในชั้นเรียนไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ดังนั้น ผู้วิจัยในฐานะผู้รับผิดชอบงานวิชาการของโรงเรียน โครงการการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นของโรงเรียนบ้านควนประชาสรรค์ จึงมีความสนใจที่จะประเมินการใช้หลักสูตรท้องถิ่นของโรงเรียนบ้านควนประชาสรรค์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อประเมินการใช้หลักสูตรท้องถิ่นโรงเรียนบ้านควนประชาสรรค์โดยประยุกต์ใช้แบบจำลองของซิป (CIPP Model) ในด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต
2. เพื่อศึกษาปัญหา และข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขการใช้หลักสูตรท้องถิ่นของโรงเรียนบ้านควนประชาสรรค์
ประโยชน์ของการวิจัย
1. ทำให้ทราบถึงปัญหา ข้อบกพร่อง และจุดเด่น จุดด้อยของหลักสูตรท้องถิ่น เพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นของโรงเรียนต่อไป
2. สามารถนำผลการวิจัยไปเผยแพร่แก่ชุมชนเพื่อเป็นแนวทางในการเลี้ยงปลาดุกต่อไป
ขอบเขตของการวิจัย
1. ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านควนประชาสรรค์ที่กำลังศึกษาในระดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 630 คน
2. กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็น ครู คณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านควนประชาสรรค์ ที่ได้มาโดยการสุ่มแบบสัดส่วน จำนวน 150 คน
3. ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย
ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย คือ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 (พฤศจิกายน 2550-กุมภาพันธ์ 2551)
ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
3.1 ตัวแปรต้น คือ บริบทเบื้องต้น ปัจจัยสภาพแวดล้อม และกระบวนการ
3.2 ตัวแปรตาม คือ ผลผลิตเป็นความคิดเห็นที่มีต่อการใช้หลักสูตรท้องถิ่นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนในการประเมินการใช้หลักสูตรท้องถิ่น
ผู้วิจัยได้นำกรอบความคิดของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) โดยใช้รูปแบบ การประเมินแบบจำลองซิป (CIPP Evaluation Model) อีกทั้งนำกรอบความคิดของสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ มาใช้ในการวิจัย ดังนี้ คือการประเมินบริบทเบื้องต้น (Context Evaluation) การประเมินปัจจัยและสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน (Input Evaluation) การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation)
การประเมินผลผลิต (Product Evaluation)
นิยามคำศัพท์เฉพาะ
1. หลักสูตรท้องถิ่น หมายถึง โครงการที่ประมวลความรู้ และประสบการณ์ทั้งหลายเกี่ยวกับกับเลี้ยงปลาดุก ที่จัดให้กับผู้เรียนตามความมุ่งหมายที่กำหนดไว้ คือ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการเลี้ยงปลาดุก มีทักษะในการเลี้ยงปลาดุก มีนิสัยรักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้และมีเจตคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพเลี้ยงปลาดุก
กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดกรอบ แนวคิด และหลักการปฏิบัติตามกรอบแนวคิด แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (กระทรวงศึกษาธิการ. 2544 : 3) ไว้ดังนี้
1. เน้นการพัฒนาคนไทยให้มีศักยภาพสูงขึ้นเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์มั้งร่างกาย จิตใจ สติ ปัญญา ความรู้ คุณธรรม วัฒนธรรมในการดำรงชีวิต และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
2. การจัดการศึกษาของไทยเป็นการศึกษาตลอดชีวิตเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษา และให้มีการพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิต
3. การจัดการศึกษาด้านนโยบายมีความหลากหลายในทางปฏิบัติ มีการกระจายอำนาจ และมีมาตรฐานคุณภาพการศึกษาสูงขึ้น
4. ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาเป็นครู อาจารย์ และบุคลากรมืออาชีพ
5. มีการระดมสรรพกำลังเพื่อการจัดการศึกษา
6. บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสถาบันต่าง ๆ มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษามากขึ้น
7. จัดการศึกษาอย่างหลากหลาย มีการใช้สื่อเทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการศึกษาอย่างเหมาะสม
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 7 ซึ่งระบุว่า “ในกระบวน การเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ ความเคารพกฎหมาย ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย รู้จักรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวมและประเทศชาติ รวมทั้งส่งเสริมศาสนา ศิลปวัฒนธรรมของชาติ การกีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และความรู้อันเป็นสากล ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการประกอบอาชีพ รู้จักพึ่งตนเอง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง” ซึ่งการที่นักเรียนมีความสามารถในการประกอบอาชีพ รู้จักพึ่งตนเอง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง ย่อมเกิดมาจากกระบวนการเรียนรู้ที่โรงเรียนและนำความรู้ไปปฏิบัติจริง
ด้วยตนเอง
มาตรา 27 ให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อความเป็นไทย ความเป็นพลเมืองดีของชาติ การดำรงชีวิต และการประกอบอาชีพ ตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อ ให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่จัดทำสาระของหลักสูตร ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ (กระทรวงศึกษาธิการ. 2546 : 3)
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 มาตรา 35 ระบุไว้ว่า สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเฉพาะที่เป็นโรงเรียนนิติบุคคล และมาตรา 37 ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อทำหน้าที่ในการดำเนินการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการฯ และให้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการศึกษาตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายอื่นและมีอำนาจหน้าที่ (กระทรวงศึกษาธิการ. 2546 : 22) ดังนี้
1. อำนาจหน้าที่ในการบริหารและจัดการศึกษาและพัฒนาสาระของหลักสูตรการศึกษาให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. อำนาจหน้าที่ในการพัฒนางานด้านวิชาการ และจัดให้มีระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาร่วมกับสถานศึกษา
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยคณะกรรมการการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 ข้อ 5 ระบุว่าให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการสถานศึกษา” อยู่ภายใต้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ ข้อ 6 ให้คณะกรรมการมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. วางแผนการดำเนินงานวิชาการ กำหนดสาระรายละเอียดของหลักสูตรระดับสถาน ศึกษา และแนวการจัดสัดส่วนสาระการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของสถานศึกษาให้สอด คล้องกับหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สภาพเศรษฐกิจ สังคม ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น
จากบทบัญญัติพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ และระเบียบกระทรวงศึกษาดังกล่าว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา นอกจากต้องจัดการศึกษาให้ผู้เรียนเกิดความรู้คู่คุณธรรมแล้ว ยังต้องจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพของท้องถิ่น เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ชีวิตจริงของตนเองในท้องถิ่น เรียนรู้สภาพภูมิศาสตร์ ประวัติความเป็นมา สภาพเศรษฐกิจ สังคม การดำรงชีวิต ภูมิปัญญา ศิลปะ วัฒนธรรม ตลอดจนให้มีความรักความผูกพัน และมีภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตนเอง รวมทั้งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตในสังคม สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงต้องตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว รวมทั้งจะต้องดำเนินการส่งเสริมสนับสนุนให้ครูผู้สอนสามารถนำสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นไปจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนเกิดผลสัมฤทธิ์ผลตามมาตรฐานการเรียนรู้
ในปีการศึกษา 2550 โรงเรียนบ้านควนประชาสรรค์ได้ปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียน ครั้งที่ 1 ขึ้นและทางโรงเรียนได้จัดทำหลักสูตรท้องถิ่นของโรงเรียนขึ้น ซึ่งรูปแบบการจัดนั้นสอดคล้องกับการจัดหลักสูตรกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามที่หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด โดยเป็นกิจกรรมที่จัดให้ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถของตนเองตามศักยภาพ มุ่งเน้นเพิ่มเติมจากกิจกรรมที่ได้จัดให้เรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่ม การเข้าร่วมและปฏิบัติกิจกรรมที่เหมาะสมร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุขกับกิจกรรมที่เลือกตนเองตามความถนัดและความสนใจอย่างแท้จริง การพัฒนาที่สำคัญ ได้แก่ การพัฒนาองค์รวมของความเป็นมนุษย์ให้ครบทุกด้าน ทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม โดยอาจจัดเป็นแนวทางหนึ่งที่สนองนโยบายในการสร้างเยาวชนของชาติให้เป็นผู้มีศีลธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัย และมีคุณภาพเพื่อพัฒนาองค์รวมของความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกของการทำประโยชน์เพื่อสังคม ซึ่งสถานศึกษาต้องดำเนินการอย่างมีเป้าหมาย มีรูปแบบและวิธีการที่เหมาะสม กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ 1) กิจกรรมแนะแนว 2) กิจกรรมนักเรียน ซึ่งในกิจกรรมนักเรียนก็สามารถแบ่งออกเป็นกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี ยุวกาชาด บำเพ็ญประโยชน์ และกิจกรรมชุมนุม ชมรม (กระทรวงศึกษาธิการ. 2544 : 6)
โรงเรียนเป็นสถาบันที่ต้องเตรียมคนให้ออกไปสู่ตลาดแรงงานและต้องเตรียมการให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินว่าชอบอาชีพอะไร และได้ทดลองฝึกทำปฏิบัติจริงเพื่อเป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพตามที่ท้องถิ่นต้องการ ปัญหาที่สำคัญในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคือนโยบายการจัดการศึกษาจะเน้นผลสัมฤทธิ์ทางพุทธิพิสัยมากกว่าจิตพิสัยและทักษะพิสัยและครูขาดความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรและวิชาชีพที่อยู่ในท้องถิ่น ซึ่งปัญหาเหล่านี้ทำให้นักเรียนขาดความรู้ความเข้าใจในหลักการของอาชีพ การจัดการศึกษาจึงขาดประสิทธิภาพและก่อให้เกิดปัญหาการว่างงานตามมา โรงเรียนบ้านควนประชาสรรค์ ได้จัดกิจกรรมชมรมตามความถนัดและความสนใจของผู้เรียนออกเป็น 3 ชมรม (การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโรงเรียนบ้านควนประชาสรรค์ : 3) คือ
1. ชมรมวิชาการ แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มย่อยดังนี้ คือ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา และภาษาอังกฤษ
2. ชมรมงานอาชีพ แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มย่อย คือ นักธุรกิจรุ่นเยาว์ งานเกษตร งานช่าง และงานบ้าน
3. ชมรมกีฬาและนันทนาการ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มย่อย คือ ศิลปะ ดนตรี และกีฬา
หลักสูตรท้องถิ่นของโรงเรียนบ้านควนประชาสรรค์ ได้จัดทำขึ้นโดยคณะกรรมการคณะหนึ่งซึงรายละเอียดเนื้อหาสาระของหลักสูตรนั้นแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ 1) พืชสมุนไพร 2) ปลาดุก 3) ข้าวกล้อง โดยใช้เนื้อหาสาระหลักสูตรมาบูรณาการในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
การจัดหลักสูตรการศึกษาในปัจจุบันเปิดโอกาสให้สถานศึกษาสามารถพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและสภาพของท้องถิ่น อันจะทำให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้และประสบการณ์ในชั้นเรียนไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ดังนั้น ผู้วิจัยในฐานะผู้รับผิดชอบงานวิชาการของโรงเรียน โครงการการจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นของโรงเรียนบ้านควนประชาสรรค์ จึงมีความสนใจที่จะประเมินการใช้หลักสูตรท้องถิ่นของโรงเรียนบ้านควนประชาสรรค์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อประเมินการใช้หลักสูตรท้องถิ่นโรงเรียนบ้านควนประชาสรรค์โดยประยุกต์ใช้แบบจำลองของซิป (CIPP Model) ในด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต
2. เพื่อศึกษาปัญหา และข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขการใช้หลักสูตรท้องถิ่นของโรงเรียนบ้านควนประชาสรรค์
ประโยชน์ของการวิจัย
1. ทำให้ทราบถึงปัญหา ข้อบกพร่อง และจุดเด่น จุดด้อยของหลักสูตรท้องถิ่น เพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นของโรงเรียนต่อไป
2. สามารถนำผลการวิจัยไปเผยแพร่แก่ชุมชนเพื่อเป็นแนวทางในการเลี้ยงปลาดุกต่อไป
ขอบเขตของการวิจัย
1. ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านควนประชาสรรค์ที่กำลังศึกษาในระดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 630 คน
2. กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็น ครู คณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านควนประชาสรรค์ ที่ได้มาโดยการสุ่มแบบสัดส่วน จำนวน 150 คน
3. ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย
ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย คือ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 (พฤศจิกายน 2550-กุมภาพันธ์ 2551)
ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
3.1 ตัวแปรต้น คือ บริบทเบื้องต้น ปัจจัยสภาพแวดล้อม และกระบวนการ
3.2 ตัวแปรตาม คือ ผลผลิตเป็นความคิดเห็นที่มีต่อการใช้หลักสูตรท้องถิ่นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนในการประเมินการใช้หลักสูตรท้องถิ่น
ผู้วิจัยได้นำกรอบความคิดของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) โดยใช้รูปแบบ การประเมินแบบจำลองซิป (CIPP Evaluation Model) อีกทั้งนำกรอบความคิดของสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ มาใช้ในการวิจัย ดังนี้ คือการประเมินบริบทเบื้องต้น (Context Evaluation) การประเมินปัจจัยและสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน (Input Evaluation) การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation)
การประเมินผลผลิต (Product Evaluation)
นิยามคำศัพท์เฉพาะ
1. หลักสูตรท้องถิ่น หมายถึง โครงการที่ประมวลความรู้ และประสบการณ์ทั้งหลายเกี่ยวกับกับเลี้ยงปลาดุก ที่จัดให้กับผู้เรียนตามความมุ่งหมายที่กำหนดไว้ คือ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการเลี้ยงปลาดุก มีทักษะในการเลี้ยงปลาดุก มีนิสัยรักการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้และมีเจตคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพเลี้ยงปลาดุก
วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2551
เรื่องที่สนใจศึกษา
สนใจเรื่อง การเลี้ยงปลาดุกโรงเรียนบ้านควนประชาสรรค์
เป็นการเสริมสร้างความรู้และประสบการณ์ให้แก่เด็กนักเรียน
ในการประกอบอาชีพเสริมเป็นรายได้ของนักเรียนและชุมชน
ของหมู่บ้านของโรงเรียนบ้านควนประชาสรรค์
นักเรียนมีความตื่นเต้นและดีใจกับการเลี้ยง
ปลาดุกอย่างสนุกสนาน ร่วมกับผู้ปกครองนักเรียน คณะครูร่วมกันแปรรูปปลาดุกครบวงจรทุกวันพฤหัสบดี พวกเรามาพบกันด้วยปลาดุกที่กำลังน่ารัก น่ากิน
และเราร่วมกิจกรรมร่วมกันอย่างมีความสุข แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบทุกคนตามความต้องการ ช่วยเหลือเกื้อกูลจนสำเร็จชิ้นงานของชาวควนประชาสรรค์และพวกเราได้นำไปจำหน่ายที่ตลาดนัดหน้าโรงเรียนบ้านควนประชาสรรค์ในวันปีใหม่ 2551 ได้เงินมาจำนวนหนึ่งและได้แบ่งกันไปออมไว้ที่ธนาคารและอีกส่วนหนึ่งได้นำไปลงทุนต่อไป สวัสดีค่ะ
นิภา บุญทอง
เป็นการเสริมสร้างความรู้และประสบการณ์ให้แก่เด็กนักเรียน
ในการประกอบอาชีพเสริมเป็นรายได้ของนักเรียนและชุมชน
ของหมู่บ้านของโรงเรียนบ้านควนประชาสรรค์
นักเรียนมีความตื่นเต้นและดีใจกับการเลี้ยง
ปลาดุกอย่างสนุกสนาน ร่วมกับผู้ปกครองนักเรียน คณะครูร่วมกันแปรรูปปลาดุกครบวงจรทุกวันพฤหัสบดี พวกเรามาพบกันด้วยปลาดุกที่กำลังน่ารัก น่ากิน
และเราร่วมกิจกรรมร่วมกันอย่างมีความสุข แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบทุกคนตามความต้องการ ช่วยเหลือเกื้อกูลจนสำเร็จชิ้นงานของชาวควนประชาสรรค์และพวกเราได้นำไปจำหน่ายที่ตลาดนัดหน้าโรงเรียนบ้านควนประชาสรรค์ในวันปีใหม่ 2551 ได้เงินมาจำนวนหนึ่งและได้แบ่งกันไปออมไว้ที่ธนาคารและอีกส่วนหนึ่งได้นำไปลงทุนต่อไป สวัสดีค่ะ
นิภา บุญทอง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)